ไทรย้อยใบแหลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina L.
วงศ์ : MORACEAE
สถานที่พบ : ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ทุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นกึ่งอาศัยหรือขึ้นบนพื้นดิน สูงได้ถึง 35 ม. หูใบยาว 0.5-2.8 ซม. ร่วงเร็ว ใบรูปรีถึงหรือรูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 2-14 ซม. แผ่นใบหนา เกลี้ยง เส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. ดอกอยู่ภายในฐานดอกที่ขยายออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ตามซอกใบ รูปกลม รูปไข่กลับ หรือรูปรี เกลี้ยงหรือมีขนประปราย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.8 ซม. สุกสีเหลืองอมส้ม แดงเข้มหรือม่วงไร้ก้าน ช่องเปิดกว้าง 1-2 มม. มีขนประปรายด้านใน ใบประดับด้านบนขนาดเล็ก เรียงซ้อนเหลื่อม
ที่มา : สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) ฯ น. 207 (ราชันย์ ภู่มา, 2559)