ประดู่แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barnebydendron riedelii (Tul.) J. H. Kirkbr.
วงศ์ : FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น อาจสูงได้ถึง 30 ม. หูใบรูปเคียว ยาว 1-2.5 ซม. ร่วงเร็ว ใบประกอบยาว 6-23 ซม. มีขนละเอียด ก้านยาว 1-2 ซม. ใบย่อยมี 3-6 คู่ รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาวได้ถึง 6 ซม. เบี้ยว ก้านใบย่อยยาว 1-2 มม. ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกเป็นกระจุกสั้น ๆ 3-5 ช่อ หนาแน่นตามกิ่ง หรือยาวได้ถึง 17 ซม. ส่วนต่าง ๆ ของดอกสีแดง ใบประดับและใบประดับย่อยรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ก้านดอกยาว 0.5-1.4 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปเรือ ยาวไม่เท่ากัน ยาว 2-8 มม. เรียงซ้อนเหลื่อม กลีบดอก 3 กลีบ รูปเรือ ปลายมน ยาว 0.6-1 ซม. มีก้าน กลีบลดรูป 2 กลีบ ยาว 1-2 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนเชื่อมติดกัน 0.2-1 ซม. อับเรณูติดไหวได้ ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน ยาว 1.5-2 ซม. รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.2-2.5 ซม. ยอดเกสรเป็นตุ่ม ฝักรูปขอบขนาน ยาว 15-17 ซม. มี 1-3 เมล็ด
ที่มา : สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) ฯ น. 242 (ราชันย์ ภู่มา, 2559)